เมนู

[อรรถาธิบาย สเทวกะ ศัพท์ เป็นต้น]


หลายบทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทำโลกนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. บัดนี้ จะชี้แจงคำที่ควรกล่าว
ต่อไป : -
บทว่า สเทวกํ คือพร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ชื่อ สเทวกะ (พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้) พร้อมด้วยมาร ที่ชื่อว่า สมารกะ
พร้อมด้วยพรหม ที่ชื่อว่า สพรหมกะ พร้อมด้วยสมณะและพราหมณ์ ที่
ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี (ให้แจ้งชัด) ด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า ปชา
เพราะความเป็นผู้เกิดจากกรรมกิเลสของตน. ซึ่งหมู่สัตว์นั้น พร้อมด้วยเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาคำว่า สเทวกะ เป็นต้น พึงทราบการถือเอาเทวดาชั้น
กามาวจร 5 ชั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ (พร้อมด้วยเทวดา). พึงทราบการถือ
เอาเทวดาชั้นกามาวจรชั้นที่ 6 ด้วยคำว่า สมารกะ. พึงทราบการถือเอา
พรหมมีพรหมชั้นพรหมกายิกาเป็นต้น ด้วยคำว่า สพรหมกะ. พึงทราบการถือเอา
สมณะและพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว และผู้มีบาปอันลอยแล้ว ด้วยคำว่า
สัสสมณพราหมณี. พึงทราบการถือเอาสัตว์โลก โดยคำว่า ปชา. พึงทราบ
การถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ.
บรรดาบททั้ง 4 นี้ ดังพรรณนามานี้ โอกาสโลก พึงทราบว่าท่าน
ถือเอาแล้วด้วยบททั้ง 3 (คือ สเทวกะ 1 สมารกะ 1 สพรหมกะ 1) สัตว์โลก
พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้วด้วยบททั้ง 2 (คือสัสสมณพราหมณี และสเทว-
มนุสสะ) ด้วยอำนาจแห่งหมู่สัตว์.

อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ท่านถือเอาแล้วด้วย สเทวกศัพท์.
กามาวจรเทวโลก 6 ชั้น ท่านถือเอาแล้วด้วย สามารกศัพท์. พรหมโลกที่มีรูป
ท่านถือเอาแล้วด้วย สพรหมกศัพท์. มนุษยโลกกับเหล่าสมมติเทพหรือสัตว์
โลกทั้งหมดที่เหลือ ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ มีสัสสมณพราหมณี เป็นต้น
ด้วยอำนาจแห่งบริษัท 4.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำทั้งหลาย มีคำว่า สเทวกะ เป็นต้นนี้ พระ
กิตติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ประกาศความที่แห่งโลก
แม้ทั้งปวง อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว โดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์
ด้วยคำว่า สเทวกะ ฟุ้งขจรไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นชนเหล่าใด พึงมีความ
สงสัยว่า มารชื่อ วสวัดดี ผู้มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นฉกามาวจร.
แม้มารนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ?
พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัยของชนเหล่านั้น ด้วยคำว่า สามรกํ
(พร้อมด้วยมาร).
อนึ่ง ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า พรหมผู้มีอนุภาพมาก ย่อม
ส่องแสงสว่างไปในหนึ่งพันจักรวาลด้วยองคุลีหนึ่ง ในสองพันจักรวาล ด้วย
สององคุลี. ฯลฯ ย่อมส่องแสงสว่างไปในหมื่นจักรวาลด้วยสิบองคุลี และได้
เสวยสุขอันเกิดจากฌานสมาบัติอย่างเยี่ยมอยู่, แม้พรหมนั้น อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ? พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัย
ของชนเหล่านั้นด้วยคำว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ (ซึ่งหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์).
พระกิตติศัพท์ (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ครั้นประกาศความที่ฐานะ
อย่างอุกฤษฏ์ทั้งหลาย อันพระองค์ทรงทำให้แจ้งแล้วอย่างนั้น ในละดับนั้น

เมื่อจะประกาศความที่สัตว์โลกซึ่งยังเหลือ อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ จนกระทั่งถึงสมมติและพวกมนุษย์ที่
ยังเหลือ ฟุ้งขจรไปแล้ว ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสํ (พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์). ในบททั้งหลายมีบทว่า สเทวกํ เป็นต้นนี้ มีลำดับอนุสนธิเท่านี้.
[อรรถาธิบาย สยํ ศัพท์เป็นต้น]
อนึ่ง ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทต นี้พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า สยํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง, สยํ ศัพท์นี้ เป็นศัพท์มี
ใจความที่คนอื่นจะพึงนำไปหามิได้. บทว่า อภิญฺญา ความว่า ทรงรู้ด้วย
ความรู้ยิ่ง คือด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือทรงทำให้ประจักษ์,
ด้วยบทว่า สจฺฉิกตฺวา นั่น เป็นอันท่านทำการห้ามกิจมีการอนุมานเป็นต้น
เสีย. บทว่า ปเวเทติ ความว่า คือทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือให้รู้ ได้แก่
ทรงประกาศให้รู้.

[พระธรรมงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด]


ข้อว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยณํ ฯ เป ฯ ปริโยสาน
กลฺยาณํ
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ต้องสละสุขอันเกิด
แต่วิเวกอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ก็เพราะทรงอาศัยความกรุณา
ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แลพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมนั้น จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง 3 ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็นอาทิเท่านั้น.
คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความพิสดารว่า แม้พระคาถาเดียว ก็มีความงาม
ในเบื้องต้น ด้วยบาททีแรก มีความงามในท่ามกลาง ด้วยบาทที่สองและที่สาม